top of page
cq5dam.web.1280.1280.jpeg
วิธีป้องกันปั๊มลมเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรเป็น

วันที่ 26 กันยายน 2021

จากที่เคยได้อธิบายเรื่อง ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ปั๊มลมเสื่อมสภาพ ไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น ผู้ใช้เครื่องจะทราบว่า “เวลา” เป็นปัจจัยที่ทำให้อุปกรณ์ทุกส่วนในปั๊มลมเสื่อมสภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราการเสื่อมสภาพเกิดขึ้นเร็ว สิ่งที่ผู้ใช้เครื่องควรเรียนรู้เพิ่มเติมคือ

วิธีการป้องกันไม่ให้ปั๊มลมเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
1. ปรับปรุงเรื่องคุณภาพอากาศ และอุณหภูมิภายในห้องเครื่องของเรา 

อย่างทีเรารู้กัน อากาศในเมืองไทยมีลักษณะร้อน ชื้นตลอดทั้งปี ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเครื่องจักรเรา ดังนั้นสิ่งที่ผู้ใช้เครื่องต้องให้ความสำคัญ คือ

1.1 ทำให้ห้องเครื่องมีอากาศถ่ายเทสะดวก 

มีช่องทางให้อากาศเย็นไหลเข้ามาในห้อง และสามารถดึงอากาศร้อนออกได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะผ่านทางท่อ duct หรือว่าผ่านพัดลมดูดอากาศก็ตาม

1.2  สถานที่ตั้งเครื่องจักรต้องไม่โดนแสงแดดส่องใส่โดยตรง 

การที่แสงแดดส่องใส่เครื่องจักรเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ผู้ใช้เครื่องมักพบเจอปัญหาความร้อนสะสม ดังนั้นผู้ใช้เครื่องควรมีการวางโครงหลังคา หรือขึงผ้าใบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงร่วมด้วย

1.3  ไม่ควรวางห้องเครื่องจักร กับห้องเก็บของไว้ในห้องเดียวกัน

ในบางสถานที่ ผู้ใช้เครื่องอาจมีการตั้งปั๊มลมไว้ในห้องเดียวกับห้องเก็บของ ซึ่งส่งผลให้ฝุ่นที่สะสมอยู่ในห้องถูกดูดเข้าไปในปั๊มลม ทำให้ cooler มีการตันเร็วขึ้นจนยิ่งส่งผลให้เครื่องมีความร้อนสะสมเร็วกว่าเดิม

2. ทำ Daily Maintenance ปั๊มลมและอุปกรณ์ให้ถูกต้อง

การดูแลเครื่องจักรให้เป็นไปตามข้อกำหนดจากทางผู้ผลิตเป็นปัจจัยที่มีนัยยะสำคัญ ที่สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพได้เป็นอย่างดี ซึ่งรายละเอียดขั้นตอนสามารถแบ่งได้ ดังนี้

2.1 การเป่าทำความสะอาด air filter และ cooler 

เป็นวิธีการหลัก ที่ไม่ต้องมีการลงทุนใด ๆ ในการถนอมคุณภาพอะไหล่ consume parts ของทั้งเครื่องปั๊มลม การที่ผู้ใช้เครื่องไม่ทำการเป่าทำความสะอาดอุปกรณ์ดังกล่าว จะกลายเป็นตัวเร่งให้ฝุ่นเข้าไปผสมรวมกับน้ำมันเร็วกว่าปกติ และทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ซึ่งปัญหาที่ว่าจะออกมาในลักษณะของความร้อนเริ่มสูงขึ้นผิดปกติ

2.2 ทำความสะอาดห้องเครื่องจักรที่วางปั๊มลม 

ห้องเครื่องจำเป็นที่จะต้องสะอาด เพื่อเลี่ยงการเกิดภาระอย่างหนักกับ air filter หากสถานที่มีฝุ่นเยอะอย่างเลี่ยงไม่ได้ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมโรงแป้ง ผู้ใช้เครื่องควรเพิ่มความถี่ในการทำสะอาดให้บ่อยขึ้นกว่าปกติ

2.3 การเปลี่ยนอะไหล่ตามวาระ

ผู้ใช้เครื่องควรเปลี่ยนอะไหล่ของปั๊มลมตามวาระที่ผู้ผลิตกำหนด อะไหล่บางชิ้นผู้ใช้เครื่องอาจพบว่าเมื่อถึงวาระ อะไหล่ยังดูเหมือนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่ หารู้ไม่โดยแท้จริงเครื่องจักรกำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงเกิดการ breakdown อยู่ ซึ่งความเสียหายที่เกิดอาจเกิดได้ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

2.3.1 ตัวอย่างปัญหาอะไหล่ consume parts เกินวาระ 

2.3.1.1 ปัญหาของความร้อนในระบบสะสม นำไปสู่การเสื่อมสภาพของวัสดุที่ทำจากยาง และอาจเสียหายต่อเนื่องไปจนถึง screw element ไหม้

2.3.1.2 ปัญหาน้ำมันหลุดไปกับลม 

2.3.1.3 น้ำมันกลับไปที่ screw element น้อยลง จนอาจกระทบไปถึงลูกปืนได้

2.3.1.4 การกินกระแสสูงขึ้นของปั๊มลม

2.3.1.5 ปัญหาผิวเหล็กของ screw element เกิดการเสียหายจากการ wearing ของฝุ่นที่ผสมกับน้ำมัน จนนำไปสู่การเสื่อมสภาพของ screw element ทำให้ปั๊มลมมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง

2.3.1.6 โอกาสที่ปั๊มลมอาจเกิดการ breakdown โดยไม่มีสัญญานแจ้งล่วงหน้า 

bottom of page