top of page

Tossapol Y.

9 ธ.ค. 2565

สัญญาณเตือน !! บ่งบอกว่าปั๊มลมกำลังสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

สัญญาณเตือน !! บ่งบอกว่าปั๊มลมกำลังสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์


ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมในประเทศส่วนใหญ่ จะมีเครื่องจักรภายในโรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงเครื่องปั๊มลมที่เปรียบมเสมือนหัวใจของโรงงานด้วย และปั๊มลมเป็นหนึ่งในจุดที่เราควรสังเกตเป็นอย่างมากว่า การทำงานของเครื่องกำลังทำงานในลักษณะที่สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์หรือเปล่า เรามาดูกันว่าเราจะสามารถสังเกตจากอะไรได้บ้าง


1.เสียงลมรั่ว

โดยส่วนมากแล้วโรงงานอุตสาหกรรมจะไม่ค่อยโฟกัสการรั่วของลมที่จุดต่าง ๆ ภายในระบบซักเท่าไรนัก โดยเฉพาะภายในเครื่องปั๊มลมเองด้วย ซึ่งอันที่จริงแล้วการรั่วของลมเป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์มากที่สุดจุดหนึ่ง และทำให้เครื่องจักรต้องทำงานหนักอยู่เกินความจำเป็นตลอดเวลา ซึ่งถ้าเราหมั่นตรวจสอบจุดรั่วของลมและทำการแก้ไขทันที จะช่วยลดอัตราการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ลงได้ (ในบางโรงงาน หลังจากทำการตรวจรั่วพบว่ารั่วในระบบมีมูลค่าสูงถึงปีละกว่า 5 แสนบาท) การตรวจสอบรอยรั่วสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมใช้กัน คือ การใช้เครื่อง Ultra Sonic Leakage Detection เป็นตัวตรวจ ซึ่งเป็นการจับการรั่วผ่านเสียงสะท้อนของลม เนื่องจากให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจรั่วโดยวิธี Ultra Sonic Leakage Detection)


2.ช่วง Unload ของปั๊มลมมากเกินไป

ปั๊มลมที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นปั๊มลมแบบชนิด Fixed Speed ซึ่งมีรอบคงที่ตลอดการใช้งาน (ประมาน 3,000 RPM) หมายความว่าวาล์วที่ใช้ควบคุมลมเข้าเครื่องจึงเป็นชนิด Load - Unload ปัญหาเรื่องการกินพลังงานของปั๊มลมชนิดนี้มักจะเกิดเมื่อเครื่องจักรมีช่วง Unload นานเกินไป (ปกติ Unload จะกินพลังงานอยู่ที่ 30% ของ Load Energy และเป็นพลังงานสูญเสียเปล่าชนิดหนึ่งของปั๊มลม) ดังนั้นผู้ใช้เครื่องจึงควรจะมีการปรับตั้งค่าแรงดันให้เหมาะสมไม่ให้เกิดค่าพลังงานเสียมากจนเกินไป ในเชิงปฏิบัติเราไม่สามารถกำจัดพลังงานชนิดนี้ได้ 100% ยกเว้นเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรแบบชนิด Inverter ทั้งนี้การตั้งค่าแรงดันแบบขั้นบันได (Pressure Cascade) โดยทั่วไปก็สามารถตอบโจทย์เรื่องพลังงานเสียเปล่าตรงส่วนนี้ไปได้พอสมควรแล้ว และยังไม่จะเป็นต้องใช้ Inverter เข้ามาควบคุม ยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความแปรผันของการใช้ลมเยอะมาก ๆ การเอา Inverter เข้ามาช่วยในไลน์ผลิตจะสามารถลดค่าพลังงานลงได้ (ทั้งนี้การลง Inverter ควรทำการตรวจสอบก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากมูลค่าการลงทุนมันสูงขึ้นกว่าการใช้เครื่อง Fixed Speed ราว 30%) อ่านเพิ่มเติมเรื่องการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ลมในโรงงาน


3.ปั๊มลมผลิตลมได้ไม่ตรงตาม Spec

ปั๊มลมส่วนใหญ่เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานานความสามารถในการผลิตลมจะค่อย ๆ ต่ำลงตามอายุของเครื่องจักร ฟันของ Screw ที่มีลักษณะเป็นเหล็กสองตัวขบกัน (แต่ไม่สัมผัสกัน) จะเริ่มมีระยะช่องว่างที่ใหญ่ขึ้นผ่านกระบวนการ wearing จากการใช้งาน ซึ่งผลกระทบตรงส่วนนี้คือมอเตอร์หลักของเครื่องยังคงหมุนและใช้กำลังไฟที่เท่าเดิม แต่ว่าหัว Screw นั้นจะไม่สามารถรีดลมได้เต็มประสิทธิภาพเหมือนเครื่องใหม่อีกต่อไป ปัจจัยการเกิดปัญหานี้มาจากอายุของเครื่องซี่งเราจะไม่สามารถควบคุมได้ และอีกส่วนคือเรื่องการเปลี่ยนอะไหล่ Consume Part (Air Filter, Oil Filter, Oil Separator, น้ำมัน lubricant) ว่าเปลี่ยนตรงตามวาระหรือไม่ การเปลี่ยนอะไหล่ตามวาระจะช่วยให้การ Wearing ที่เกิดกับฟัน Screw เกิดช้าลง


4.การเปลี่ยนอะไหล่ตามวาระการใช้งาน

อะไหล่ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Air Filter , Oil Filter หรือ น้ำมัน ควรจะเปลี่ยนให้ตรงตามวาระ เพราะถ้าไม่ทำการเปลี่ยนตามวาระ ในแง่ของการกินพลังงานเครื่องจักรจะเกิดขึ้นเนื่องจากเครื่องจักรไม่สามารถส่งลมออกไปในไลน์ผลิตได้เต็มกำลังของเครื่องที่ถูกออกแบบไว้ เช่น Air Filter ตันลมเข้าได้ไม่เต็มที่ หรือ Oil Separator ตันทำให้ลมออกจากเครื่องได้น้อยลง ซึ่งผลกระทบอีกทางที่ผู้ใช้เครื่องจะเจอนอกจากลมออกจากเครื่องน้อยลงแล้ว คือการกินกระแสไฟที่สูงขึ้น โดยที่ผู้ใช้เครื่องอาจไม่ได้สังเกต

 

 

bottom of page