บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel. 065-516-0292, 02-101-1944

Tossapol Y.
3 เม.ย. 2565
ก๊าซไนโตรเจน กับอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม
ก๊าซไนโตรเจน กับ อันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม
จากข้อมูลจะพบว่าก๊าซไนโตรเจนเปรียบเสมือนก๊าซเฉื่อย ไม่ติดไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ แต่เมื่อก๊าซไนโตรเจนหลุดเข้าไปในอากาศมากเกินไป เมื่อหายใจเข้าไปอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนได้ โดยปกติอากาศที่เราหายใจ ทั่วไปจะมีไนโตรเจน 78% ส่วนที่เหลือเป็นออกซิเจน และก๊าซอื่น ๆ ซึ่งหากอากาศมีความเข้มข้นของไนโตรเจนมากกว่า 84% (ออกซิเจนและก๊าซอื่นๆ 16%) จะทำให้ผู้ที่สูดดมอากาศเข้าไปอาจเกิดอันตรายได้โดยไม่รู้ตัว และมากไปกว่านั้นหากความเข้มข้นของไนโตรเจนสูงขึ้นไปอีกถึง 94% อาจทำให้เสียชีวิตได้ในไม่กี่วินาที
เราจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการใช้ก๊าซไนโตรเจนในโรงงานอุตสาหกรรม
จะต้องรู้ว่าก๊าซไนโตรเจนถูกปล่อยทิ้งออกมาทางใดบ้าง ซึ่งแต่ละจุดควรอยู่ภายนอกอาคารหรือปล่อยเข้าไปในพื้นที่ ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับก๊าซไนโตเจนโดยเฉพาะ
ควรตรวจวัดค่าของก๊าซออกซิเจนในบริเวณที่มีการใช้ก๊าซไนโตรเจนเพื่อให้แน่ใจว่าในบริเวณนั้นมีก๊าซออกซิเจนที่เพียงพอและเหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง
จะต้องรู้ว่าในภายในโรงงานมีการใช้ก๊าซที่จุดใดบ้าง และควรมีป้ายกำกับที่ท่อก๊าซไนโตรเจนอย่างชัดเจน
ควรตรวจสอบสายโฮสที่ใช้กับก๊าซไนโตรเจนอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าสายโฮสที่ใช้กับก๊าซไนโตรเจนไม่มีการรั่วหรือชำรุดของสาย
ทำการตรวจวัดอากาศทุกครั้งก่อนเข้าทำงานในที่ผลิตก๊าซไนโตรเจน หรือที่มีการใช้ก๊าซไนโตรเจน โดยจะต้องให้ก๊าซออกซิเจนนั้นอยู่ในค่าที่เหมาะสม
ตรวจสอบให้มั่นใจว่าระบบระบายอากาศพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศภายในบริเวณนั้น
สภาวะอับอากาศอาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งกีดขวางชั่วคราวเช่น ผ้าใบกันแดดกันฝน หรือวัสดุอื่นที่ปิดล้อมไว้ชั่วคราว