บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel. 065-516-0292, 02-101-1944

9 สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับระบบปั๊มลม (Air Compressor)
วันที่ 27 พฤษภาคม 2021
1. จริงหรือไม่? การเพิ่มแรงดัน (pressure bar) ในระบบ สามารถทำให้ผลิตลมได้มากขึ้น
ไม่จริง การเพิ่มแรงดัน (pressure bar) ให้สูงเกินกว่าที่จำเป็น นอกจากจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานที่มากขึ้นแล้ว ยังทำให้ได้การผลิตลม (air flow) ที่ลดลงด้วย ดังนั้นทางที่ดีผู้ใช้เครื่องควรตั้งแรงดันเครื่องให้ใกล้ความต้องการใช้งาน (รวม pressure drop) ให้มากที่สุดเพื่อทำให้ปั๊มลม (air compressor) ผลิตลมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2. จริงหรือไม่? ปั๊มลมที่ปราศจากน้ำมัน (Air Compressor Oil Free) คือปั๊มลมที่จำเป็นที่สุด
ไม่จริง ปั๊มลม (air compressor) ชนิดปราศจากน้ำมันเหมาะสมกับเฉพาะบางอุตสาหกรรมเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ปั๊มลมชนิดนี้ การใช้ปั๊มลมแบบปราศจากน้ำมันเหมาะสมกับอุตสาหกรรมที่มี ISO8573-1 Class 0 เข้ามาควบคุม หรืออุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารและยา เป็นต้น นอกจากนี้การลงทุนในปั๊มลมชนิดนี้มักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าปั๊มลมชนิดอื่น ๆ
3. จริงหรือไม่? ที่ราคาเครื่องปั๊มลม (Air Compressor) มีราคาสูง
ไม่จริง เมื่อเทียบสัดส่วนของค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดอายุการใช้งานปั๊มลม (air compressor) หนึ่งเครื่อง มูลค่าของปั๊มลมมักมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายอยู่เพียง 10% เท่านั้น หากผู้ใช้เครื่องมองเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว อาจมองได้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนนั้นดูสูง ซึ่งโดยแท้จริงหากผู้ใช้เครื่องอยากลดค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน ผู้ใช้เครื่องสามารถมองทางเลือกของการใช้ปั๊มลมชนิด Inverter ที่สามารถช่วยลดค่าเฉลี่ยพิ่มได้อีก 35%
4. จริงหรือไม่? ที่ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาเครื่องปั๊มลม (Air Compressor) (PM) เป็นประจำ
ไม่จริง ปั๊มลม (air compressor) จัดเป็นเครื่องจักรตัวหนึ่งที่มีการใช้งานหนักที่สุด ซึ่งต้องการการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ (ความบ่อยในการดูแลอ้างอิงตามสภาพหน้างาน) และควรมีการเปลี่ยนอะไหล่ทุกครั้งเมื่อครบวาระชั่วโมงไม่ต่างกับการดูแลรถยนต์หนึ่งคัน เพื่อทำให้ปั๊มลมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสไม่ให้ไลน์ผลิตต้องหยุดชะงัก
5. จริงหรือไม่? การใช้ปั๊มลม (Air Compressor) ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ไลน์ผลิต มีความปลอดภัย
อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ การใช้ปั๊มลม (air compressor) เป่าทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ไลน์ผลิตนั้น ช่วยอำนวยความสะดวกก็จริง แต่อาจทำให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นกระจายและแตกอนุภาคเป็นชิ้นเล็ก และมีโอกาสไปเกาะตามชิ้นงานในสายการผลิตได้ ดังนั้นการใช้ลมจากปั๊มลมมาเป่าทำความสะอาดควรอยู่ที่ดุลพินิจของแต่ละโรงงาน และสถานที่ ๆ เป่าทำความสะอาดกรณีที่สถานที่เป่าทำความสะอาดไม่มีอุปกรณ์อะไรที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ก็สามารถทำได้
6. การซ่อมแซมแก้ไขจุดรอยรั่วของระบบปั๊มลม (Air Compressor) จะช่วยให้ค่าไฟในโรงงานลดลง
จริง รอยรั่วในระบบลม และจากตัวปั๊มลม (air compressor) เองถือเป็นสาเหตุหนึ่งของการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ หากเราสามารถรู้จุดรอยรั่วของลมได้ และเร่งดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขได้รวดเร็ว จะสามารถช่วยลดพลังงานสูญเสีย และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากได้ เมื่อเกิดลมรั่วผู้ใช้เครื่องมักจะพบเจอในลักษณะของแรงดันลดลง โดยทฤษฎี แรงดันที่สูญเสียทุก ๆ 1 บาร์ จะมีค่าเท่ากับพลังงาน 7%
7. แรงดัน (Pressure) เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกปั๊มลม (Air Compressor)
จริง การเลือกปั๊มลม (air compressor) ซักเครื่อง มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ แรงดัน และอัตราการไหลของลม วิธีการคือคำนวนค่าแรงดันการใช้ลมของเครื่องจักรทั้งหมดภายในโรงงาน โดยการนำค่าแรงดันการใช้ลมสูงสุดของเครื่องจักรมาเป็นตัวตั้ง และนำอัตราการกินลมของทุกเครื่องจักรมารวมกันเพื่อคำนวนเทียบเป็นขนาดของปั๊มลมออกมา
8. จริงหรือไม่? ลมจากเครื่องปั๊มลม (Air Compressor) นั้นสกปรก
อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้ลมในกระบวนการผลิตนั้น ๆ คุณภาพของลมที่ออกมาจากปั๊มลม (air compressor) ต้องสัมพันธ์กับการใช้งาน กรณีที่ลมที่ใช้งานนั้นเอาไปใช้ในขั้นตอนการผลิตอุตสาหกรรม เช่น งานยานยนต์ คุณภาพลมที่ออกจากปั๊มลม ที่ผ่านตัวกรอง filter และเครื่องทำลมแห้ง (air dryer) ก็สามารถให้ลมที่สะอาดเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว กลับกันกรณีที่ลมจากปั๊มลมถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมยา ซึ่งถือว่าเป็นของที่กินได้ คุณภาพลมควรเป็นลมที่ปราศจากน้ำมัน และอาจจำเป็นต้องมีการกรองที่เยอะเป็นพิเศษ เพื่อให้ลมที่ออกมามีปริมานการปนเปื้อนต่ำที่สุด
9. จริงหรือไม่ อะไหล่แท้มีความแตกต่างกับอะไหล่เทียบ
จริง อะไหล่แท้ที่จำหน่ายโดยบริษัทผู้ผลิต หรือตัวแทน เป็นอะไหล่ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับเครื่องปั๊มลม (air compressor) นั้น ๆ ซึ่งสามารถการันตีคุณภาพการกรองได้ตามมาตรฐานจากโรงงาน กลับกันสำหรับอะไหล่เทียบการใช้งานอาจยังคงใช้งานได้เหมือนกับอะไหล่แท้ แต่ความทนทานของอะไหล่ และอัตราการกรองจะไม่สามารถการันตีได้ มากไปกว่านั้นอะไหล่เทียบเองมีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายให้กับ screw element ได้ในระยะยาว ทำให้ประสิทธิภาพการรีดลมของเครื่องลดลง จนส่งผลให้ผู้ใช้เครื่องต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น โดยไม่รู้ตัว
หัวข้ออื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ
-
ปั๊มลมชนิดใดที่เหมาะกับฉัน