top of page
การดูแลปั๊มลม Screw Type ด้วยตนเองไม่ได้ยากอย่างที่คิด

วันที่ 29 มกราคม 2022

การดูแลปั๊มลม (Air Compressor) ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานนั้น บางคนคิดว่าปั๊มลม (Air Compressor) นั้นต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษา แต่ความจริงแล้วผู้ใช้เครื่องก็สามารถดูแลเบื้องต้นได้เอง และขั้นตอนก็ไม่ยากอย่างที่คิด โดยขั้นตอนการดูแลเพื่อให้เครื่องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลานั้น สามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 ความสะอาดภายนอกเครื่อง

หลักการดูแลปั๊มลม (Air Compressor) ข้อแรกนั้น เบื้องต้นผู้ใช้เครื่องควรทำการตรวจสอบสภาพ บริเวณพื้นที่ตั้งเครื่อง และตัวเครื่องว่ามีความสกปรกมากน้อยเพียงใด หากบริเวณดังกล่าวมีความสกปรกมาก ผู้ใช้เครื่องควรหมั่นทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากบริเวณพื้นที่วางปั๊มลม (Air Compressor) สกปรกจนเกินไป ฝุ่นในบริเวณพื้นที่จะเริ่มกลายเป็นภาระ ทำให้ปั๊มลม (Air Compressor) ไม่สามรถทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ชั่วโมงอะไหล่สั่นลง ตัวเครื่องกินกระแสไฟสูงขึ้นโดยผู้ใช้เครื่องไม่รู้ตัว 

Atlas Copco Service.jpeg
ข้อที่ 2 การตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนภายในเครื่อง

การตรวจสอบสภาพภายในของปั๊มลม (Air Compressor) แบ่งออกย่อยดังนี้ ตรวจรั่วว่ามีอุปกรณ์ชิ้นใดเสื่อมสภาพบ้าง เช่น สภาพสายโฮส (hose) ของระบบน้ำมันหรือระบบลม สภาพประเก็น หรือ o-ring ตามชิ้นส่วนต่าง ๆ กรณีตรวจเจอชิ้นส่วนเสื่อมสภาพ ผู้ใช้เครื่องควรรีบแจ้งทางผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้าตรวจสอบละเอียดอีกครั้งเพื่อทำการเร่งทำการแก้ไข ขั้นตอนต่อไปให้ทำการตรวจเช็คกรองอากาศปั๊มลม ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ซึ่งส่วนนี้หากมีการอุดตันหรือเสื่อมสภาพ ปั๊มลม (Air Compressor) จะไม่สามารถดูดอากาศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้

ข้อที่ 3 ตรวจสอบระบบระบายความร้อนเครื่อง

 อีกจุดหนึ่งที่ผู้ใช้เครื่องไม่ควรมองข้ามคือจุดระบายความร้อนของปั๊มลม (Air Compressor) ไม่ว่าจะเป็นพัดลมดูดอากาศภายในตัวเครื่อง หรือระบบรังผึ้งระบายความร้อน​ (oil cooler และ air cooler) ผู้ใช้เครื่องควรหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้ลมเป่าไล่ฝุ่นที่สะสมอยู่บนผิวรังผึ้ง เพื่อให้ปั๊มลม (air compressor) ระบายความร้อนได้ดีขึ้น และไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในตัวปั๊มลมได้

หากผู้ใช้เครื่อง ทำการดูแลปั๊มลม (Air Compressor) อย่างสม่ำเสมอ และทำการดูแลอย่างถูกวิธี ตัวเครื่องของผู้ใช้งานจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทนทาน และลดโอกาสอย่างมากที่การเกิดเสียหายจนเครื่องหยุดทำงาน และทำให้จะช่วยให้ปั๊มลม (Air Compressor) อยู่กับเราได้อย่างยาวนานมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

หัวข้ออื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ
bottom of page